กระบวนการที่เหมาะสมที่สุด ในการ สกัดสารจากมะหาด มีที่มาจากงานวิจัยโดย คุณปราณี ศิริบูรณ์พิพัฒนา, คุณลือชัย บุตคุป และคุณศุภชัย สมัปปิโต ซึ่งมีเนื้อหาบางส่วนดังนี้..
อิทธิพลของวิธีการสกัดต่อองค์ประกอบทางเคมีและฤทธิ์การต้านออกซิเดชันของแก่นมะหาด
Influence of Extractive Mathods on Chmical Constituents and Antioxidative Capacity of Artocarpus lakoocha Heartwood
ปราณี ศิริบูรณ์พิพัฒนา, ลือชัย บุตคุป, ศุภชัย สมัปปิโต
Pranee Siriboonpipattana, Lucahi Butkhup, Supachai Samappito
บทคัดย่อ
เรสเวอราโทลและรีซอซินอลเป็นสารออกฤทธิ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการลดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และโรคมะเร็ง มีรายงานว่าพบสารเหล่านี้ในพืชสกุล Artocarpus หลายชนิด การสกัดแก่นมะหาดด้วยไอน้ำ ด้วยน้ำ ด้วยเมธานอล และสกัดร้อนด้วยเมธนอลในเครื่อง Soxhlet เพื่อวิเคราะห์ประมาณสารเสเวอราโทลและรีซอซินอลโดยใช้คอลัมน์ C-18 ด้วยเครื่อง HPLC ปริมาณสารประกอบฟีโนลิกโดยรวมทดสอบโดยใช้สารละลาย Folin-Ciocalteau ด้วยเครื่องวัดค่าดูดกลืนแสง และความสามารถในการต้านออกซิเดชันทดสอบกับสารอนุมูลอิสระเสถียร DPPH นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมทางสถิติ จากผลการทดลองพบว่าในบรรดาวิธีการสกัดทั้งหมด การสกัดด้วยเมธานอลในเครื่อง Soxhlet ให้ปริมาณสารประกอบฟีโนลิกโดยรวม (18.32 ± 0.61 มิลลิกรัมของกรดแกลลิกต่อมิลลิลิตร) ปริมาณสารรีซอซินอลและเรสเวอราโทล (86.15 ± 2.32 และ 105.09 ± 4.15 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ) เปอร์เซ็นต์การกำจัดอนุมูลอิสระเสถียร DPPH (81.55 ± 0.98%) และกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ (1.33 ± 0.03) สูงที่สุด แตกต่างกับวิธีการสกัดอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ดังนั้นวิธีการสกัดนี้จึงเหมาะสมในการสกัดสารเรสเวอราโทลและรีซอซินอลจากแก่นมะหาด
คำสำคัญ: เรสเวอราโทล, รีซอซินอล, แก่นมะหาด, ความสามารถในการต้านออกซิเดชัน, DPPH
ว วิทย เทคโน มมส 2251;27(2):100-109
22 สิงหาคม 2560
ผู้ชม 3655 ครั้ง